ด้านเทคโนโลยีอวกาศ การพัฒนาเทคโนโลยีดาวเทียมขนาดเล็ก ระบบติดตาม และสื่อสาร
ระหว่าง สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ กับ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ โรงเรียนอัสสัมชัญ

แนวทางความร่วมมือ
- ร่วมกันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อรองรับดาวเทียมขนาดเล็กทรงลูกบาศก์ (CubeSat) ที่สามารถสื่อสารและตรวจจับข้อมูลได้ และรองรับการปฏิบัติการภายใต้สภาวะเสมือนอยู่ในวงโคจรต่ำ
- การพัฒนาสถานีภาคพื้นดินรับสัญญาณดาวเทียม ระบบสถานีและระบบติดตามวัตถุและดาวเทียมเคลื่อนที่วิถีแบบ Suborbital Flight (แบบไม่ถึงชั้นวงโคจรของโลก) - การพัฒนาเทคโนโลยีจรวดหยั่งอวกาศ (Sounding Rocket) เชื้อเพลิงแข็ง ระยะการเคลี่อนในแนวดิ่งไม่เกิน 10 กิโลเมตร

บันทึกข้อตกลงความร่วมมือ โครงการ AC International Partnership Exchange Program

แนวทางความร่วมมือ
- เป็นโครงการแลกเปลี่ยนสำหรับนักเรียนโรงเรียนอัสสัมชัญ ที่กำลังศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3, 4 และ 5 เพื่อเดินทางไปเรียนต่อในต่างประเทศ เป็นเวลา 1 ปีการศึกษา กับ โรงเรียนพันธมิตร 19 สถาบัน 4 ประเทศ ประกอบด้วย สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร แคนาดา และนิวซีแลนด์ ทั้งโรงเรียนเอกชนและโรงเรียนรัฐบาลที่มีทีมคุณครูที่ดูแลนักเรียนต่างชาติโดยเฉพาะ และมีตัวเลือกให้พักกับโฮสต์ท้องถิ่นหรือพักอาศัยในหอพักของทางโรงเรียน กรณีนักเรียนพักกับโฮสต์ท้องถิ่น โฮสต์ที่ดูแลนักเรียนจะไม่ใช่โฮสต์อุปถัมภ์ แต่จะเป็นโฮสต์ที่ผ่านการคัดเลือกและตรวจสอบประวัติจากทางโรงเรียนโดยตรง นักเรียนสามารถเลือกโรงเรียนและประเทศได้ตามความต้องการ ตามความสามารถของตน และต้องผ่านข้อกำหนดจากทางโรงเรียนพันธมิตรแต่ละสถาบันเป็นผู้คัดเลือกโดยตรง เมื่อนักเรียนจบโครงการฯ กลับมาศึกษาต่อที่โรงเรียนอัสสัมชัญ โดยไม่ต้องซ้ำชั้น และสามารถโอนหน่วยกิตและเกรดได้ทุกรายวิชา นอกจากนี้ บางสถาบันในกลุ่มพันธมิตร ยังมีทุนการศึกษามอบให้กับนักเรียน

ความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) กับ วิทยาลัยดุสิตธานี

แนวทางความร่วมมือ
- เพื่อส่งเสริมความร่วมมือในด้านวิชาการ ในการจัดทำเตรียมหลักสูตร การส่งเสริมกิจกรรมการเรียนการสอน การฝึกปฏิบัติงาน การพัฒนาองค์ความรู้ของบุคลากรครู
- เพื่อความร่วมมือทางวิชาการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย
- คณะผู้บริหารและคณะครู โรงเรียนอัสสัมชัญ สามารถเข้าเยี่ยมชมการเรียนการสอนของวิทยาลัยดุสิตธานี

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

แนวทางความร่วมมือ
- ร่วมกันส่งเสริมการพัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนอัสสัมชัญให้มีความทันสมัยและเหมาะสมกับการศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์ อันได้แก่ Biomedical Engineering, STE(A)M, Aviation and Aerospace และวิศวกรรมศาสตร์ด้านอื่นที่เกี่ยวข้อง
- ร่วมกันสนับสนุนพัฒนานักเรียน คณะครูและคณาจารย์ของโรงเรียน ให้มีความเป็นเลิศในการศึกษา วิจัยและพัฒนาทางด้าน Biomedical Engineering, STE(A)M, Aviation and Aerospace และวิศวกรรมศาสตร์ด้านอื่น

วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา โครงการ MEET 2023-2024

แนวทางความร่วมมือ
- โครงการ MUIC Excellence Entrance Track (MEET) เป็นโครงการที่ให้ โควต้านักเรียน กับโรงเรียนชั้นนำทั่วประเทศ ที่เข้าร่วม ลงนาม จำนวน 36 โรงเรียน ที่มีการจัดการเรียนการสอนในหลักสูตร English Program (EP), Intensive English Program (IEP), Bilingual, English Immersion Program, International Program (IP), Modern Language Program (MLP) และ หลักสูตรไทย
- โครงการ MEET เป็นโครงการที่จัดขึ้นเพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างผู้บริหารวิทยาลัยนานาชาติและผู้บริหารจากโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการฯ นอกจากนี้ยังมีส่วนช่วยพัฒนานักเรียนและส่งเสริมการเรียนการสอนระบบนานาชาติในสถาบันการศึกษาระดับมัธยมศึกษาที่เข้าร่วมโครงการฯ ให้เป็นเลิศทางวิชาการในระดับสากล เหมาะสมสอดคล้องกับการจัดการศึกษาแบบ Liberal Education ของวิทยาลัยฯ พร้อมเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรีที่วิทยาลัยฯ ต่อไป

Warrix สนับสนุนชุดทีมกีฬาโรงเรียนอัสสัมชัญ

แนวทางความร่วมมือ
การสนับสนุนชุดของนักกีฬาโครงการทุนของโรงเรียนอัสสัมชัญ ประเภท ฟุตบอล บาสเกตบอล วอลเลย์บอล เป็นเวลา 2 ปี (ปีการศึกษา 2566-ปีการศึกษา 2567) มูลค่าปีการศึกษาละ 3 ล้านบาท ได้แก่
1. ชุดในการฝึกซ้อมสำหรับนักกีฬา ผู้ฝึกสอน และทีมงาน
2. ชุดในการแข่งขัน
3. ชุดเดินทางสำหรับนักกีฬา ผู้ฝึกสอน และทีมงาน
4. ทางบริษัท วอริกซ์สปอร์ต จำกัด (มหาชน) มอบส่วนสิทธิพิเศษในการใช้บริการ คลินิกกายภาพบำบัด Warrix Health-Performance Training Studio ของนักกีฬา ทั้ง 3 ประเภทกีฬา โดยมีเอกสารขออนุญาตเข้าใช้บริการอย่างเป็นทางการจากทางโรงเรียน
5. ร่วมจัดทำสินค้าที่มีตราสัญลักษณ์ของโรงเรียน บนผลิตภัณฑ์เพื่อจำหน่ายในห้องจำหน่ายอุปกรณ์การเรียนการสอนของโรงเรียน และผ่านระบบร้านค้าออนไลน์