ประวัติโรงเรียนอัสสัมชัญ
ที่นี่มีประวัติศาสตร์

ผู้ก่อตั้งโรงเรียน คือ บาทหลวงเอมิล ออกัสต์ กอลมเบต์ ชาวฝรั่งเศสเจ้าอาวาสวัดอัสสัมชัญ ด้วยความใฝ่ฝันที่จะต่อสู้กับการปล่อยปละละเลยในเรื่องการศึกษาและความโง่เขลาของเด็ก ๆ ในละแวกวัด ในปี พ.ศ. 2420(ค.ศ. 1877)ท่านจึงตั้งโรงเรียนวัดชื่อโรงเรียนไทย-ฝรั่ง เพื่อสอนภาษาฝรั่งเศส และภาษาไทย ในวันแรกมีนักเรียน 12 คน สมัยนั้นเยาวชนทั้งหลายมิได้เอาใจ ใส่ต่อการเรียน ส่วนใหญ่มุ่งแต่จะเที่ยวเล่นไปตามลำคลองเท่านั้น แต่บาทหลวงกอลมเบต์เห็นการณ์ไกลไม่ท้อถอย สองปีต่อมา ท่านจึงเปิดสอนภาษาอังกฤษเพิ่มอีกหนึ่งภาษา จนกระทั่งวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2428 (ค.ศ. 1885) โรงเรียนได้เปิดอย่างเป็นทางการใช้ชื่อว่า โรงเรียนอาซัมซาน กอเล็ศ โดยใช้เรือนไม้หลังใหญ่ซึ่งเคยเป็นที่พักของเณรคาทอลิก ให้เป็นอาคารเรียนหลังแรก และขอร้องให้ผู้ปกครองนำบุตรหลานมาเรียน วันแรกมีนักเรียนนับจำนวนได้ 33 คน จนถึงสิ้นปีมี นักเรียนเพิ่มขึ้นเป็น 80 คน ในปีต่อมา มีจำนวนนักเรียนทั้งสิ้น 130 คน


Brief History of Assumption College

The School was founded in 1877 by Rev. Father Émile August Colombet, a French Abbot of Assumption Church in order to tackle with the educational neglect and the ignorance of children around the area of the church. The school was primarily named Thai-Farang School and aimed to teach French and Thai to students. There were 12 students on the first day of school. Despite the inattentiveness of students at that time, Pastor Colombet with his insightful vision provided English as an additional language teaching. The school was officially opened on 16th February A.D. 1885 in the name of Collège De L’Assomption. The first college building was the big wooden house, which was previously used as the accommodation for Catholic novices. Parents were encouraged to send their children to the academy, and there were a total of 33 students on the first day of school. At the end of the year, the number of students had increased to 80 and became 130 by the following year.

ปณิธาน/ปรัชญา/วิสัยทัศน์/
พันธกิจ/
เป้าหมายของโรงเรียน

ปณิธาน (Commitment)
เราชาวอัสสัมชัญ
ต้องตั้งมั่นในคุณธรรมของศาสนา
ต้องเชื่อมั่นในคุณค่าและศักดิ์ศรีของคน
ต้องมุ่งมั่นในความเป็นเลิศด้านวิชาการ
ต้องยึดมั่นในความรับผิดชอบต่อสังคม


Philosophy/Uniqueness/
Vision/Goals

Philosophy of the School:
1. Aim of life is to reach the truth and virtue of life which are the origins of life.
2. All men must work. Perseverance leads the way to success as the school’s motto says “Labor Omnia Vincit.”

นโยบายโรงเรียนอัสสัมชัญ
ประจำปีการศึกษา 2566

1. จัดการศึกษาตามทิศทางการจัดการศึกษาในแนวมงฟอร์ต (MEC) และบริหารงานตามนโยบายและแผนยุทธศาสตร์มูลนิธิคณะเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทย ปีการศึกษา 2565 – 2570
2. นำข้อตกลงสากลว่าด้วย คำมั่นสัญญาของโลก เรื่องการศึกษา (Global Compact on Education) บรรจุลงในหลักสูตรสถานศึกษา
3. ส่งเสริมสนับสนุนด้านคุณธรรม จริยธรรม และจิตอาสา
4. พัฒนาหลักสูตรการจัดการเรียนรู้ การวัด และประเมินผลให้มีคุณภาพ และมาตรฐานระดับสากลตามแผนยุทธศาสตร์มูลนิธิคณะเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทย ปีการศึกษา 2565 – 2570
5. ยกระดับผลสัมฤทธิ์นักเรียน ผลการสอบของมูลนิธิคณะเซนต์คาเบรียลฯ และระดับชาติผลการแข่งขันภายนอก การศึกษาต่อ และการสอบชิงทุนทั้งในและต่างประเทศ
6. พัฒนาศักยภาพนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษในแต่ละด้านให้ได้รับการพัฒนาการถึงขีดสูงสุด
7. ยกระดับการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนานักเรียนสู่มาตรฐานสากล
8. จัดอัตรากำลังบุคลากรให้ตรงสาขาวิชา และทักษะ พัฒนาครูให้มีความเชี่ยวชาญด้านการจัดการเรียนรู้ ทักษะ ในการคิด ทักษะการสื่อสาร ทักษะการสื่อสารเป็นภาษาอังกฤษ และการใช้จิตวิทยาพัฒนาการ
9. พัฒนาทักษะการใช้เทคโนโลยี แก่ ครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียนในการจัดการเรียนรู้ และการบริหารจัดการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และเกิดประสิทธิผลอย่างชัดเจนคุ้มค่า และยั่งยืน
10. บุคลากรทางการศึกษาเพิ่มคุณค่างานบริการด้วยหัวใจบริการ (Service Mind)
11. ขยายเครือข่ายความร่วมมือทางการศึกษา (MOU) กับองค์กรทางการศึกษาทั้งในและต่างประเทศ เพื่อยกระดับคุณภาพครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน
นโยบายเร่งด่วน คือ พัฒนาโรงเรียนทั้งครบสู่ Digital Transformation พัฒนาหลักสูตร ที่ทันสมัย และตามความสนใจของผู้เรียน พัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์เพื่อออกไปรับใช้สังคมประเทศชาติ

ตราโรงเรียน
ธงประจำโรงเรียน
สีประจำโรงเรียน

ตราโล่ คือ เครื่องป้องกันศาสตราวุธทั้งปวง มีลักษณะ เป็นโลพื้น่สีแดงคาดสีขาวตรงกลาง มีตัวอักษร AC สีน้ำเงินไขว้กันอยู่ตรงกลาง

ตราคณะเซนต์คาเบรียล

ตราของภราดาคณะเซนต์คาเบรียล เป็นเครื่องแสดง เอกลักษณ์ และความสามัคคีของบรรดาสมาชิกอัสสัมชัญ และมีความสำคัญมากในฐานะเป็นที่รวมหัวใจหลายพันหลายหมื่นไว้ให้อยู่ใต้สำนึกแห่งการ ประพฤติ ปฎิบัติ ร่วมกัน


School Symbol
School flag
School Colors

สถาบันในเครือมูลนิธิคณะเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทย

โรงเรียนอัสสัมชัญ เป็นโรงเรียนแห่งแรก ภายใต้การดูแลของมูลนิธิคณะเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทย โดยมีสถาบันในเครือฯ ประกอบด้วย โรงเรียน สถาบันทางการศึกษาในประเทศไทย


Saint Gabriel Foundation
Our Schools Network

ห้องสมุดโรงเรียนอัสสัมชัญ
MARTIN DE TOURS
LIBRARY

ห้องสมุด "มาร์ติน เดอ ตูรส์" เป็นชื่อเดิมของห้องสมุดโรงเรียนในอดีต (โดยตั้งอยู่ในตัวอาคารอัสสัมชัญ 100 ปี ซึ่งอาคารถูกรื้อถอนเมื่อปี พ.ศ. 2546) ตั้งขึ้นเพื่อให้เกียรติแด่ท่านเจษฎาธิการมาร์ติน เดอ ตูรส์ อธิการท่านแรกของโรงเรียนอัสสัมชัญ (ดำรงตำแหน่ง เมื่อปี พ.ศ. 2445-2463 และ พ.ศ. 2472-2475) ท่านได้รับความไว้วางใจจากคณะเซนต์คาเบรียลในประเทศฝรั่งเศส ให้เป็นภราดาชุดแรกที่เดินทางมาประเทศไทย เพื่อสานต่อการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนอัสสัมชัญ จากบาทหลวงเอมิล กอลมเบต์ ผู้ก่อตั้งโรงเรียนอัสสัมชัญ คุณความดีของท่าน รวมถึงความมุ่งมั่นต่อการทำงาน ความวิริยะอุตสาหะ ล้วนเป็นที่กล่าวขานของบรรดาครู และศิษย์เก่าสือต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน

ศูนย์การเรียนรู้วิจัยและพัฒนานวัตกรรม เทคโนโลยีการบินและอวกาศ และเทคโนโลยีขั้นสูง
โรงเรียนอัสสัมชัญ
(DREAMS Maker Space)

โรงเรียนอัสสัมชัญ มีนโยบายส่งเสริมการเรียนรู้เชิงวิจัยและพัฒนา และสร้างพื้นที่สำหรับนักเรียนในการสร้างสิ่งที่สนใจ จึงพัฒนาปรับปรุง ชั้น 3 ห้องสมุดมาร์ติน เดอ ตูรส์ อาคารนักบุญหลุยส์-มารีย์ โรงเรียนอัสสัมชัญ เขตบางรัก กรุงเทพฯ ให้เป็นพื้นที่แห่งการเรียนรู้และสร้างฝัน โดยประกอบด้วย
ศูนย์การเรียนรู้วิจัยและพัฒนานวัตกรรม เทคโนโลยีการบินและอวกาศ และเทคโนโลยีขั้นสูง ที่แบ่งพื้นที่เป็น
- AC Electronics Laboratory
- AC Mechanics Laboratory
- AC 3D Model Studio
- AC Aviation Training Center
- AC Metaverse Studio

กองทุนเพื่อโรงเรียนอัสสัมชัญ

กองทุนเพื่อโรงเรียนอัสสัมชัญ มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาโรงเรียนอัสสัมชัญให้พร้อมเข้าสู่ความเป็นเลิศด้านวิชาการ พัฒนากีฬาประเภทต่าง ๆ และสนับสนุนด้านกำลังใจให้ทุกคนในโรงเรียนอัสสัมชัญ
ปัจจุบัน มีคุณประภากร วทานยกุล อัสสัมชนิกดีเด่น เลขประจำตัว 22066 (AC88) เป็นประธานกองทุนเพื่อโรงเรียนอัสสัมชัญ พร้อมด้วยคณะกรรมการบริหารกองทุนเพื่อโรงเรียนอัสสัมชัญ

พิพิธภัณฑ์อัสสัมชัญ
(Assumption Museum)

โรงเรียนอัสสัมชัญมีประวัติความเป็นมายาวนานกว่าศตวรรษ เกี่ยวข้องกับคนหลายกลุ่ม และเหตุการณ์ทางสังคมหลายมิติมีข้อมูลและหลักฐานชั้นปฐมภูมิในรูปแบบต่างๆ จำนวนมาก ทั้งข้อมูลเก่า และเรื่องราวร่วมสมัย ในรูปแบบของเอกสาร รูปภาพ สิ่งของ ตัวบุคคล และ สถานที่ ข้อมูลเหล่านี้ไม่เคยถูกจัดเก็บอย่างเป็นระบบ ที่สำคัญข้อมูลหลายชิ้น กระจัดกระจาย เลือนหายในความทรงจำ และกำลังจะสูญหายไปจากโรงเรียนอัสสัมชัญ
ด้วยเหตุนี้ ศิษย์เก่าอัสสัมชัญกลุ่มหนึ่งร่วมกับทางโรงเรียนอัสสัมชัญ ได้เริ่มจัดทำฐานข้อมูล (DATABASE) ซึ่งเมื่อข้อมูลถูกจัดเก็บอย่างเป็นระบบ สืบค้นได้ง่าย ฐานข้อมูลมีความชัดเจนประชาคมอัสสัมชัญ และประชาชนทั่วไปก็สามารถนำข้อมูลไปประยุกต์ใช้สร้างสรรค์งาน ได้อย่างถูกต้อง แม่นยำรวมถึงงานบริการวิชาการแก่สังคมที่อาจเกิดขึ้นต่อไปในอนาคต